Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือแนะนำ
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
New Books ThungKhru
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
E-Books
E-Book Hibrary
E-Book Bangkoklibrary
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
ระบบสืบค้นหนังสือ
ปฏิทินห้องสมุด
กิจกรรม-วันหยุด-วันสำคัญ
หน้าแรก
ปฏิทินห้องสมุด
วันนี้มีที่มา
วันนี้มีที่มา
กลับไปหน้าหลัก
วันแห่งพระจันทร์
ทุกวันวันที่ 20 ก.ค. ของทุกปี เป็น “วันแห่งพระจันทร์” (Moon Day) เพื่อรำลึกถึงวันที่ “ยานอวกาศ อพอลโล 11” ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา สามารถลงจอดบนผิวของดวงจันทร์สำเร็จ และเป็นการประทับรอยเท้าแรกบนดวงจันทร์ของ “นีล อาร์มสตรอง” อันเป็นที่มาของประโยคอมตะ “นี่เป็นเพียงก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นย่างก้าวกระโดดอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”
โดยในวันที่ 20 กรกฎาคม 2023 นี้ จะเป็นการครบรอบ 54 ปี ที่มนุษย์คนแรก คือนักบินอวกาศ “นีล อาร์มสตรอง” (Neil Armstrong) และ “บัซซ์ อัลดริน” (Edwin “Buzz” Aldrin) ได้เดินทางด้วยยานอวกาศอะพอลโล และก้าวเดินลงเหยียบผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของมนุษย์เรา ในวันที่ 20 กรกฎาคม 1969 เมื่อนักบินอวกาศ 2 คนก้าวลงเหยียบผิวดวงจันทร์นั้น มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และมีคนทั่วโลกกว่า 600 ล้านคน ได้ดูเหตุการณ์ครั้งนี้
การเดินทางของมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของโลกอย่างหนึ่ง อาร์เธอร์ ชเลซินเกอร์ (Arthur Schlesinger) นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐ กล่าวว่า การค้นพบที่สำคัญในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ DNA ยาเพนิซิลลิน คอมพิวเตอร์ และตัวชิพ เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารยธรรม แต่ในอีก 500 ปีข้างหน้า คนในอนาคตจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 คือ การเดินทางไปยังดวงจันทร์ของมนุษย์เรา
สำหรับ “โครงการอะพอลโล” หรือการส่งนักบินอวกาศไปเยือนดวงจันทร์ มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศของอดีตประธานาธิบดีเคนเนดี เมื่อเดือนพฤษภาคม 1961 ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า ก่อนสิ้นทศวรรษนี้ ประเทศนี้ควรมุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมาย การส่งคนไปเยือนดวงจันทร์ และนำเขากลับมายังโลกอย่างปลอดภัย”
“ยานอะพอลโล 11” ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Saturn V เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1969 จากศูนย์อวกาศเคนเนดี ยานอะพอลโลมี 3 ส่วน คือ (1) ยานบัญชาการ ที่ประกอบด้วยห้องพักนักบินอวกาศ 3 คน และส่วนที่กลับมายังโลก (2) ยานส่วนสนับสนุนการเดินทาง ได้แก่การขับเคลื่อน พลังไฟฟ้า ออกซิเจน และน้ำ และ (3) ยานจันทรา (lunar module) ที่มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ลงจอดที่ดวงจันทร์ กับส่วนที่จะนำนักบินอวกาศขึ้นมาโคจรรอบดวงจันทร์ และสมทบกับยานแม่
หลังจากอาศัยการขับเคลื่อนเพื่อเดินทางไปดวงจันทร์จากจรวดท่อนที่ 3 นักบินอวกาศก็แยกยานอะพอลโลจากจรวดท่อนสุดท้าย และใช้เวลาเดินทาง 3 วัน เพื่อเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ จากนั้น นีล อาร์มสตรอง และบัซซ์ อัลดริน ก็เข้าไปอยู่ในยานจันทรา ที่มีชื่อเรียกว่า Eagle แล้วก็ร่อนลงจอดบริเวณที่เรียกว่า ทะเลแห่งความเงียบ (Sea of Tranquility) ก้าวแรกของอาร์มสตรอง ที่เหยียบผิวดวงจันทร์ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก
นักบินอวกาศทั้งสองคนเดินอยู่บนดวงจันทร์นาน 2 ชั่วโมงครึ่ง แล้วก็อาศัยยานจันทราท่อนที่ทำการบินขึ้นจากผิวดวงจันทร์ มาสมทบกับยานบัญชาการ Columbia ที่มีนักบินอวกาศไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ทำหน้าที่ควบคุมยานอยู่ จากนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 1969 ก็เดินทางกลับมายังโลก และยานร่อนลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยอาศัยร่มชูชีพ รวมเวลาเดินทางในอวกาศทั้งหมดกว่า 8 วัน
ช่วง 50 ปีหลังจากอะพอลโล 11 องค์การนาซาได้ส่งยานอวกาศไปสำรวจและไปพ้นจากดาวพลูโต ส่งยานไปลงยังผิวดาวอังคาร นักดาราศาสตร์ยังค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะและมีลักษณะคล้ายโลกเรา แต่คนส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่า ยานจันทราของอะพอลโล 11 ที่ไปลงจอดบนดวงจันทร์ พร้อมนักบินอวกาศ 2 คน เป็นเหตุการณ์ที่เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สุดของการเดินทางสำรวจอวกาศ
Cr. www.dailynews.co.th
แชร์