ทุกวันที่ 26 เมษายนเป็น “วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก” ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513
ขณะที่สมาชิกในองค์กรเล็งเห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมไปถึงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้จัดตั้งวันทรัพย์สินทางปัญญาโลกขึ้นเพื่อให้ประชาชนคนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทำการใด ๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด โดยประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่
1.1) วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
1.2) นาฏกรรม
1.3) ศิลปกรรม
1.4) ดนตรีกรรม
1.5) โสตทัศนวัสดุ
1.6) ภาพยนตร์
1.7) สิ่งบันทึกเสียง
1.8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
1.9) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
นอกจากนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย ทั้งนี้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่
ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจ เป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิต ที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ Cr. www.tnnthailand.com