Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
Paris 2024 Paralympics - Highlight
Highlight ที่น่าสนใจของการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก
ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขันพาราลิมปิก
ตราสัญลักษณ์ของพาราลิมปิก เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวที่มีลักษณะเป็นรูปร่างเสี้ยวที่ไม่สมมาตรสามสี ประกอบด้วยสีแดง, สีน้ำเงิน และสีเขียว บนพื้นหลังสีขาว โดยสามสีหมายถึง คณะกรรมการพาราลิมปิกสากลที่นำพานักกีฬาพิการจากทั่วโลกมาแข่งขันกีฬากัน และรูปร่างเสี้ยวที่ไม่สมมาตรยังเป็นสัญลักษณ์ของวิสัยทัศน์พาราลิมปิกเพื่อให้นักกีฬาบรรลุความเป็นเลิศด้านกีฬาและสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความกระตือรือร้นให้นักกีฬา
การแบ่งประเภทนักกีฬาพาราลิมปิก
ในการแข่งกีฬาแต่ะชนิด จะมีการจำแนกกลุ่มของนักกีฬาตามความบกพร่องของร่างกาย เพื่อลดผลกระทบจากการบกพร่องของนักกีฬาต่อประสิทธิภาพการเล่นกีฬา การดำเนินการเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของการแข่งขันให้มีความยุติธรรมระหว่างนักกีฬาทุกคน
นักกีฬาทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการจัดประเภทก่อนเข้าร่วมการแข่งขันพาราลิมปิก ซึ่งในระหว่างนั้น นักกีฬาจะได้รับการประเมินและจัดประเภทกีฬาตามระดับและลักษณะของความบกพร่องที่เข้าข่าย การจัดประเภทดังกล่าวจะดำเนินการโดยคณะผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และทางเทคนิคที่รับผิดชอบในการประเมินผลกระทบต่อการแข่งและประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาของนักกีฬา เนื่องจากกติกาและรูปแบบวิธีการเล่นของกีฬาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน การจัดประเภทจึงมีระบบเฉพาะของแต่ละชนิดของกีฬา
ประเภทความบกพร่องทางร่างกายที่เข้าเกณฑ์ในกีฬาพาราลิมปิกมีอยู่ 10 ประเภท ได้แก่ ความบกพร่องทางร่างกาย 8 ประเภท ความบกพร่องทางการมองเห็น และความบกพร่องทางสติปัญญา
ความบกพร่องทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ข้อติด, แขนขาลีบเล็ก, ความยาวของขาไม่เท่ากัน, มีรูปร่างแคระ, กล้ามเนื้อตึงตัวมาก, Athetosis (หนึ่งในประเภทของโรคสมองพิการมักผิดปกติที่ส่วนปลายแขนหรือขา ทำให้การเคลื่อนไหวมีลักษณะบิดหมุนช้า ๆ), สูญเสียแขนหรือขา
ความบกพร่องทางการมองเห็น ตั้งแต่พิการทางสายตาไปจนถึงตาบอดสี
ความบกพร่องทางสติปัญญา
กีฬาพิเศษที่มีเฉพาะการแข่งขันพาราลิมปิก
ปัจจุบันมีกีฬาจำนวน 28 ชนิด ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee ; IPC) โดยเป็นกีฬาฤดูร้อน 22 ชนิด และกีฬาฤดูหนาว 6 ชนิด โดยมีกีฬา 2 ชนิดที่มีเฉพาะการแข่งขันพาราลิมปิก ไม่ได้บรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก นั่นคือ "บ็อคเซีย" และ "โกลบอล"
Boccia (บ็อคเซีย)
บ็อคเซีย
เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความแม่นยำและความคล่องแคล่วคล้ายกับเปตอง และเป็นกีฬาที่เล่นโดยนักกีฬาที่นั่งรถเข็นซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายอย่างรุนแรง "บ็อคเซีย" เดิมเป็นกีฬาที่ถูกพัฒนาเพื่อผู้พิการทางสมอง ซึ่งต่อมากีฬานี้ได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก โดยนักกีฬาที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวและได้เริ่มจัดการบรรจุลงในการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งแรกในปีค.ศ. 1984 เปิดโอกาสให้นักกีฬาที่มีความพิการร้ายแรงสามารถเข้าร่วมทีมชาติของตนได้
"บ็อคเซีย" เป็นกีฬาที่แข่งในร่ม บนสนามเรียบขนาด 12.5 ม. x 6 ม. มีลักษณะการเล่นคล้ายกีฬาเปตอง คือ แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีลูกบอลสีแดงหรือน้ำเงินจำนวน 6 ลูก เป้าหมายของกีฬานี้ คือ นักกีฬาจะต้องพยายามโยน กลิ้ง ขว้าง หรือปล่อยลูกบอลไปตามราง (ตามลักษณะความพิการ) เพื่อให้ลูกเข้าไปใกล้ลูกเป้าหมายสีขาวที่เรียกว่า "แจ็ค" ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยฝ่ายใดที่มีบอลมีใกล้มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ
Goalball (โกลบอล)
โกลบอล
เป็นกีฬาประเภททีมชนิดหนึ่ง ที่ออกแบบมาสำหรับนักกีฬาที่มีความพิการทางสายตาและคนตาบอด โดย "โกลบอล" ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สูญเสียการมองเห็น ในปีค.ศ. 1946
"โกลบอล" เป็นกีฬาที่เล่นอยู่บนสนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มียาว 18 เมตร และกว้าง 9 เมตร เท่ากับสนามวอลเลย์บอล และมีประตูกว้าง 9 เมตร และสูง 1.30 เมตร อยู่ 2 ฝั่งท้ายสนามคล้ายกับฟุตบอล เป็นการแข่งขันระหว่างทีม 2 ทีม โดยแต่ละทีมจะมีผู้เล่นในสนามทีมละ 3 คน และแต่ละทีมสามารถมีผู้เล่นสำรองได้สูงสุดอีก 3 คน เนื่องจากการแข่ง "โกลบอล" มีการแบ่งประเภทนักกีฬาความบกพร่องตามความสามารถในการมองเห็น นักกีฬาทุกคนในสนามจึงต้องสวมหน้ากากทึบแสงและผ้าปิดตาเพื่อให้การแข่งขันมีความยุติธรรม
เป้าหมายของกีฬานี้ คือ แต่ละทีมจะต้องสลับกันรุก พยายามกลิ้งลูกบอลที่มีกระดิ่งอยู่ภายในด้วยความเร็วไปตามพื้นให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม โดยลูกบอลจะต้องเด้งในพื้นที่ของผู้ขว้างอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จึงจะมีการนับคะแนน ในขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามจะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับและพยายามป้องกันประตูของตนเองไม่ให้ลูกบอลเข้าประตู เนื่องจากประตูของ "โกลบอล" มีความกว้างถึง 9 เมตร ทำให้การป้องกันมีความยากเป็นพิเศษ ผู้เล่นสามารถใช้การนอนลงกับพื้นเพื่อป้องกันลูกบอล
"โกลบอล" เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมาธิสูง แต่ละเกมจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆ ละ 12 นาที เช่นเดียวกับฟุตบอลคนตาบอด ผู้ชมจะต้องนิ่งเงียบระหว่างการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นได้ยินเสียงบอล
อ้างอิง
AIS
https://www.ais.th/review/product/ais-paralympic.html
International Paralympic Committee
https://www.paralympic.org/athletics/classification
https://www.paralympic.org/classification
https://www.paralympic.org/paris-2024
https://www.paralympic.org/paris-2024/sports
Olympics
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games/paralympic-classification
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games/schedule
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games/sports
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games/sports/boccia
https://olympics.com/en/paris-2024/paralympic-games/sports/goalball
TrueID
https://sport.trueid.net/detail/2gRmpRLQ4Qa
Stadiumth
https://stadiumth.com/olympic/highlight/detail?id=455&tab=diduknow
แชร์