Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
โรคที่มากับน้ำท่วม
โรคที่มากับน้ำท่วม
น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติ แต่ปีนี้หนักหนาสาหัสอย่างที่ไม่เคยเกิด ซ้ำร้ายช่วงนี้ฝนตกชุก น้ำเหนือไหลหลาก ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักในหลายจังหวัด ประชาชนในหลายจังหวัดต่างได้รับความเดือดร้อน เสียหายทั้งบ้านเรือน ไร่นา นอกจากเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย นับเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเป็นอย่างมาก
น้ำท่วมในระยะแรกอาจยังไม่มีเชื้อโรคมาก แต่เมื่อกลายเป็นน้ำขังก็จะสกปรกและมีเชื้อโรคมากขึ้น น้ำจึงเป็นที่มาของเชื้อโรคชนิดต่างๆ และหากต้องเดินย่ำน้ำแต่ละวันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งมีโอกาสป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำท่วมมากขึ้น โรคอาจมากับน้ำท่วมเช่น โรคผิวผนัง โรคเท้าเปื่อย โรค ท้องร่วง โรคฉี่หนู โรคตาแดง และโรคเครียด เป็นต้น
เรามาดูสาเหตุและการป้องกันแก้ไขโรคที่มากับน้ำท่วมกันนะครับ
1.โรคน้ำกัดเท้าหรือ ฮ่องกงฟุต
จะมีอาการคันซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เท้า เมื่อเท้าเปียก ๆ ชื้น ๆ จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น
การติดเชื้อ
การติดเชื้อส่วนใหญ่ หากไม่ใช่ฤดูฝน มักจะเกิดจากเหงื่อออก หมักหมม ไม่รักษาความสะอาดให้ดี แต่หากในช่วงน้ำท่วม มักเป็นจากเท้าที่เปียกๆ ชื้นๆ บ่อยๆ แล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี
อาการ
คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย ๆ เป็นผื่นที่เท้า ที่พบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้
การรักษา
การรักษาโรคราที่เท้า ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้น ใช้ครีมรักษาเชื้อราทา
การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ
2. ถ้าจำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำควรสวมรองเท้าบู๊ท
2.
โรคอุจจาระร่วง
ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารมักพบบ่อยขณะเกิดภาวะน้ำท่วมเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
การติดต่อ
โดยการสัมผัสเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลที่มาจากน้ำท่วม หรือจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาดชำระล้างภาชนะใส่อาหาร เช่น ถ้วย ชาม ช้อน ที่ปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่า หรือจากการไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมหรือปรุงอาหาร จะทำให้เกิดโรคติดต่อทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้
การป้องกัน
1. ดื่มน้ำสะอาด น้ำบรรจุขวด ถ้าจำเป็นต้องดื่มน้ำที่ท่วมควรต้มให้สุกก่อน
2. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
3. ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้
4. กินอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ ที่ไม่มีแมลงวันตอม
5. รักษาความสะอาดในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย การกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะที่ถูกต้อง
6. หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระในน้ำที่ท่วมเพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ (ในภาวะน้ำท่วมสูงควรถ่ายใส่ถุงดำแล้วโรยปูนขาว ปิดปากถุงให้แน่น รอเรือเก็บขยะมาเก็บ)
7. ไม่ควรกินยาหยุดถ่ายเองควรปรึกษาแพทย์
3. โรคตาแดง
เป็นโรคติดต่อที่ระบาดได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้จะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้
สาเหตุ
1. ใช้มือสกปรกที่อาจมีเชื้อโรคขยี้ตา
2. ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค หรือเล่นกับผู้ป่วย
3. แมลงวันหรือแมงหวี่ตอมตา หรือฝุ่นละอองเข้าตามาก ๆ จนตาอักเสบ
4. อาบน้ำในคลองสกปรก หรือที่มีตาแดงระบาด
การป้องกัน
ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง ล้างหน้าและมือให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ควรเอามือขยี้ตา
อาการ
เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตามาก อาการจะมีประมาณ 10 วัน
การรักษา
พักสายตาบ่อย ๆ ประคบตาด้วยผ้าเย็น และเช็ดตาด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น
4. โรคฉี่หนู Leptospirosis
เชื้อนี้สามารถพบได้สัตว์หลายชนิด แต่พบมากในหนู โดยเชื้อโรคในตัวหนูจะออกมากับฉี่ของหนู และปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำ ซึ่งเชื้อที่อยู่ตามแหล่งน้ำนี้ สามารถเข้าทางผิวหนังของผู้ป่วยที่มีบาดแผล หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง และหากบริเวณบาดแผลไปสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อโรคฉี่หนู เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ตัวผู้ป่วย และก่อโรคได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนและมีน้ำขัง
การติดต่อ
โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ ที่ตา ปาก จมูก
หลังจากได้รับเชื้อ โดยเฉลี่ย
10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรค คือ
- ปวดศีรษะทันที มักจะปวดบริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
- ปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณ ขา น่อง เวลากด หรือจับจะปวดมาก
- ไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น อาการต่าง ๆ อาจอยู่ได้ 4-7 วัน
นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง การตรวจร่างกายในระยะนี้อาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการตาแดง
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ แช่หรือลุยในน้ำ
ที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะของสัตว์นำโรค ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ท
- ล้างเท้าหรือส่วนที่แช่อยู่ในน้ำเมื่อขึ้นจากการแช่น้ำทุกครั้ง
และรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
- เมื่อมีอาการน่าสงสัย
เช่น มีไข้ ปวดศรีษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อน่อง โคนขา หลังหรือมีอาการตาแดง ให้รีบพบแพทย์ด่วน
การรักษา
ก่อนอื่นผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และยาที่มักจะได้รับ คือ ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน หรือ doxycycline (อย่างไรก็ตาม ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาดเพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต)
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม
>>>
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=839
5.
โรคเครียด
ในภาวะเช่นนี้ ทุกคนที่ประสบภัยน้ำท่วม หรือกำลังอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงที่อาจถูกน้ำท่วม ก็จะเกิดภาวะเครียดเป็นธรรมดา จะมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยส่วนตัวของผู้นั้นเองว่ามีความมั่นคงทางอารมณ์มากน้อยเพียงใด แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเพียงใด และอีกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของความเครียด คือขนาดของความเสียหาย หากขนาดของความเสียหายมาก ก็มีโอกาสที่จะมีความเครียดรุนแรงได้ หากมีอาการเครียดมากจน ทำให้การทำกิจวัตรประจำวันเสียไป นอนไม่หลับ ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และแพทย์อาจให้ยาคลายเครียดช่วย ในรายที่มีอาการมาก จนรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน และในรายที่อาการมาก อาจต้องพบจิตแพทย์
“ ข้อมูลข้างต้นที่ได้นำเสนอไปนั้น หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม ผมและกองบรรณาธิการวารสารศิริราชประชาสัมพันธ์ ขอร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกท่านให้มีกำลังใจฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไปอย่างมั่นคง และอย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพท่านด้วยนะครับ ”
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=926
(ผลงานของนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน)
#ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บางบอน
02-450-6946
#สาระน่ารู้
#โรคที่มากับน้ำท่วม
แชร์