Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
รู้จัก “มิสเซิลโท” จาก “กาฝาก” สู่สัญลักษณ์แห่ง “ความรักและคริสต์มาส”
รู้จัก “มิสเซิลโท” จาก “กาฝาก” สู่สัญลักษณ์แห่ง “ความรักและคริสต์มาส”
ในช่วงวันคริสต์มาส นอกจากต้นสนที่ประดับประดาเป็นสัญลักษณ์แล้ว ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “มิสเซิลโท” (Mistletoe) ที่เหล่าคู่รักมักจะนำมาทำตามกันเป็นธรรมเนียมของชาวตะวันตกเพื่อแสดงถึงรักที่ยั่งยืน และยังแสดงถึงความสงบ ความโชคดี
โดยต้นมิสเซิลโทนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Phoradendron มาจากภาษากรีก แปลว่า “โจรปล้นต้นไม้” ซึ่งต้นมิสเซิลโทนั้นจัดเป็นพืชกาฝากเก่าแก่ ตระกูลเดียวกับไม้จันทร์ที่เติบโตบนกิ่งของพืชยืนต้นอื่นๆ
ความพิเศษของต้นมิสเซิลโท คือ ใบจะไม่ร่วงแม้เข้าสู้ฤดูหนาวอันโหดร้าย กระทั่งเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ทั้งยังเป็นพืชที่มีมากถึง 1,300 สายพันธุ์ทั่วโลก และด้วยความพิเศษของพืชกาฝากชนิดนี้ ทำให้ต้นมิสเซิลโท เป็นประโยชน์กับนก ผึ้ง และผีเสื้อเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวเป็นอย่างมาก เพราะมันจัดเป็นแหล่งอาศัยที่ดีในขณะที่พืชชนิดอื่นๆ ต่างพากันร่วงโรยเมื่อลมหนาวพัดมา
ต้นมิสเซิลโทนั้นปรากฏอยู่ในบันทึกตำนาน ประเพณี บทประพันธ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีตำนานหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ใน Smithsonian ระบุว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 Baldur บุตรของเทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งโลกพากันเกลียดชัง จนทำให้เดือดร้อนถึงภรรยาและ Frigga เทพแห่งความรักและการแต่งงาน จึงต้องไปทำการต้องร้องขอต่อเหล่าสิ่งมีชีวิตและสรรพสัตว์ทั้งโลกให้ไว้ชีวิต Baldur แต่กระนั้นพวกนางกลับลืมต้นมิสเซิลโท ลูกธนูที่ทำจากพืชกาฝากชนิดนี้จึงกลายเป็นอาวุธที่ใช้สังหาร Baldur ในที่สุด
ตำนานหลังจากการลอบสังหารก็มีความหลากหลาย บ้างก็ว่า Frigga ผู้เป็นมารดาหลั่งน้ำตาแห่งความอาดูรจนทำให้ผลของมิสเซิลโทกลายเป็นสีขาว บ้างก็ว่า Baldur กลับฟื้นคืนมาได้ ทำให้ Frigga ยกให้ต้นมิสเซิลโทคือสัญลักษณ์แห่งสันติสุขและความรัก
Wall Street Journal บอกว่า ในช่วงเทศกาลโครเนีย ในคริสตศักราช 79 ซึ่งเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวของชาวกรีก เมื่อมีผู้ค้นพบความพิเศษของต้นมิสเซิลโทและเชื่อว่ามีพลังพิเศษ ต้นมิสเซิลโทจึงเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้คนในยุคนั้น ทั้งการแขวนไปหน้าบ้านเพื่อนำพาความโชคดีมาใช้ นำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ รวมถึงแก้การเป็นหมัน และยังใช้ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ไล่แม่มด ป้องกันไฟไหม้ และยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้สร้างความปรองดองอีกด้วย
แม้ว่าตำนานและเรื่องราวของมิสเซิลโทจะมีมายาวนาน แต่การจุมพิตใต้ต้นมิสเซิลโทนั้น ปรากฏในการบันทึกของ Washington Irving นักเขียนชาวอเมริกันช่วงปี 1800 ที่ระบุว่า
"ผู้ชายจะถือโอกาสจุมพิตหญิงสาวที่หมายปอง ระหว่างที่กำลังเก็บผลจากมิสเซิลโท ถ้าเก็บจนหมดต้นก็เป็นอันหมดเวลา"
ต้นมิสเซิลโทเข้ามาสู่วัฒนธรรมของอังกฤษในช่วงคริสต์มาส จากบันทึกในช่วงปี 1800 และจะมีการแขวนพุ่มมิสเซิลโท ที่เรียกว่า Mistletoe Bough ก่อนที่ต้นคริสต์มาสที่มาจากต้นสนจะถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับการจุมพิตใต้ต้นมิสเซิลโทนั้นกลับถูกพบว่าเกิดขึ้นระหว่างคนรับใช้ในช่วงวันคริสต์มาสและกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในสมัยนั้น
การจุมพิตใต้พุ่มมิสเซิลโทกลับมาในอังกฤษอีกครั้ง จากหนังสือของ Charles Dickens หลายเล่ม ทั้ง The Pickwick Papers (1837) และ A Christmas Carol (1843) และเรื่องสั้นโรแมนติกของ Anthony Trollope ที่มีชื่อว่า The Mistletoe Bough ซึ่งมีฉากจบด้วยการจุมพิตใต้ต้นมิสเซิลโท
มิสเซิลโทเริ่มเข้ามาในสหรัฐฯเมื่อช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 ในบอสตัน และเริ่มแพร่หลายในช่วงปี 1820 จากบทประพันธ์ของ Washington Irving เรื่อง The Sketch Book ที่เล่าถึงประเพณีของคริสต์มาสในอังกฤษที่ต้องมีมิสเซิลโท และเรื่องเล่าของสาวใช้แดนผู้ดีและการจุมพิตใต้มิสเซิลโทปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วย
ปัจจุบัน ยังมีการแขวนพุ่มมิสเซิลโทไว้หน้าบ้าน เพื่อสื่อถึงเทศกาลคริสต์มาส มากกว่าการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และนำพาโชคดีให้ รวมทั้งการมีบุตรหลานมาสู่ครอบครัวเหมือนในอดีต ขณะที่การจุมพิตใต้ต้นมิสเซิลโทนั้น เห็นจะเป็นการเปิดบทสนทนาในช่วงวันคริสต์มาสเสียมากกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก
วีโอเอไทย ข่าวสดสายตรงจากอเมริกา
https://www.voathai.com/
แชร์