Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
สงสัยหรือไม่ ? เล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองคุณอย่างไร
สงสัยหรือไม่ ? เล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองคุณอย่างไร
รู้หรือไม่ว่า ทุกครั้งที่นักดนตรีหยิบเครื่องดนตรีขึ้นมา จะมีดอกไม้ไฟปะทุขึ้นไปทั่วสมองของพวกเขา
ภายนอกพวกเขาอาจดูสงบและมีสมาธิ อ่านดนตรี และทำการเคลื่อนไหวสำคัญต่างๆ ที่แม่นยำ และผ่านการฝึกฝนมาแล้ว แต่ภายในสมองของพวกเขา งานเลี้ยงกำลังเกิดขึ้นอยู่
เรารู้ได้อย่างไรกัน นั่นเพราะในสองสามศตวรรษที่ผ่านมา นักประสาทวิทยาได้ทำการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ในการทำความเข้าใจ ว่าสมองทำงานอย่างไร โดยติดตามมันแบบทันสถานการณ์จริง (real-time) ด้วยอุปกรณ์เช่น FMRi และ PET สแกนเนอร์ เมื่อคนถูกติดเข้ากับเครื่องพวกนั้น งานอย่างการอ่าน หรือทำโจทย์คณิตศาสตร์ ซึ่งแต่ละงานมีความเกี่ยวโยงกับบริเวณของสมอง ที่กิจกรรมสามารถถูกสำรวจได้ แต่เมื่อนักวิจัยได้ให้ผู้เข้าร่วมฟังเพลง พวกเขาเห็นพลุ หลายบริเวณในสมองของพวกเขา ถูกจุดให้สว่างในทันที ที่พวกเขาทำการวิเคราะห์เสียง แยกมันออกเพื่อเข้าใจส่วนประกอบ อย่างทำนองและจังหวะ และจากนั้นนำมันทั้งหมดกลับมาด้วยกัน เป็นประสบการณ์ทางดนตรีที่รวมกันเป็นหนึ่ง และสมองของพวกเราทำงานพวกนี้ ในเวลาเสี้ยววินาที ระหว่างที่เราได้ยินดนตรีครั้งแรก และเมื่อเท้าของเราเริ่มจะย่ำไปตามจังหวะ
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนจากการสำรวจสมอง ของผู้ฟังเพลงเป็นสมองของนักดนตรี พลุเล็กๆ บ้านๆ ก็กลายเป็นพลุงานฉลอง มันกลายเป็นว่า ระหว่างที่การฟังดนตรีทำให้สมอง เริ่มทำกิจกรรมบางอย่างที่ค่อนข้างน่าสนใจ การเล่นดนตรีเท่ากับการออกกำลังกายทั้งตัว สำหรับสมอง นักประสาทวิทยา เห็นสมองหลายบริเวณสว่างขึ้น ทำการจัดการข้อมูลต่างๆ พร้อมๆ กัน ด้วยความปราณีต เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน และด้วยลำดับอันรวดเร็วเหลือเชื่อ
แต่อะไรในการสร้างเสียงดนตรี ที่ทำให้สมองสว่างไสว งานวิจัยยังค่อนข้างจะใหม่ แต่นักประสาทวิทยาค่อนข้างจะมีแนวคิดที่ดี การเล่นเครื่องดนตรี ทำให้บริเวณต่างๆ ในสมองทำงานพร้อมกัน โดยเฉพาะสมองชั้นนอกเกี่ยวกับ การมองเห็น การฟัง และการเคลื่อนไหว และเช่นเดียวกับการออกกำลังกายอื่นๆ วินัย โครงสร้างการฝึกฝนการเล่นดนตรี ทำให้การทำงานของสมองนั้นแข็งแรง และสามารถทำให้เรา ใช้ความแข็งแกร่งนั้นกับกิจกรรมอื่นได้
ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่าง การฟังดนตรีและการเล่น คืออย่างที่สอง ต้องการ การเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อน ซี่งถูกควบคุมในสมองทั้งสองข้าง มันยังรวมเอาหลักทางภาษาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งพัฒนามากกว่า ในสมองฝั่งซ้าย กับความใหม่และเรื่องราวสร้างสรรค์ ที่สมองซีกขวาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเหตุผลเหล่านี้ การเล่นดนตรีได้ถูกพบว่า เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของส่วน คอร์ปัส คัลโลซัม ของสมอง สะพานระหว่างสมองทั้งสองข้าง ยอมให้ข้อความผ่านข้ามสมองเร็วกว่า และผ่านเส้นทางที่หลากหลายกว่า นั่นอาจทำให้นักดนตรีแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์กว่า ทั้งในทางวิชาการและทางสังคม
เพราะการสร้างเสียงดนตรียังคงเกี่ยวข้อง กับทักษะและความเข้าใจ สารและข้อความทางอารมณ์ของมัน นักดนตรีมักมีหน้าที่ทางการบริหาร ในระดับที่สูงกว่า ซี่งมันเป็นงานในจำพวกประสานงานเชื่อมต่อ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การวางนโยบาย และการในความใส่ใจในรายละเอียด และต้องการการวิเคราะห์อย่างฉับพลัน ความสามารถนี้ยังมีผลกระทบ ต่อการทำงานของระบบความทรงจำของเรา และแน่นอน นักดนตรีความสามารถ ด้านความทรงจำที่ดี การสร้าง จัดเก็บ และเรียกใช้ ความทรงจำ เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพกว่า การศึกษาทำให้พบว่า นักดนตรีใช้สมองที่เชื่อมโยงกันอย่างมากของพวกเขา ให้ฉลากกับแต่ละความทรงจำ เช่นฉลากแนวคิด ฉลากอารมณ์ ฉลากเสียง และฉลากข้อความ เหมือนกับอุปกรณ์ค้นหาชั้นดีทางอินเตอร์เน็ต
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ประโยชน์นั้นเป็นเอกลักษณ์ของดนตรี ไม่ได้เหมือนกันกับ กีฬา หรือการวาดภาพ หรือว่าคนที่เข้าถึงดนตรี ฉลาดกว่าคนอื่นตั้งแต่เริ่มแล้ว นักประสาทวิทยาได้ทำการสำรวจประเด็นนี้ แต่จนถึงตอนนี้ พวกเขาพบว่า ลักษณะที่ศิลปินและนักกีฬา หัดเล่นเครื่องดนตรีนั้น ต่างไปจากกิจกรรมการเรียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และการศึกษาแบบสุ่มของผู้เข้าร่วม ผู้ซึ่งแสดงหน้าที่ความจำและการจัดการทางประสาท ในระดับเดียวกันในตอนแรก พบว่าผู้ที่เคยมีประสบการณ์เรียนดนตรี แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นในสมองบริเวณต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ
ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับ ประโยชน์ทางสมองของการเล่นดนตรี ทำให้ความเข้าใจของเราต่อหน้าที่ของสมอง พัฒนาไปอีกขั้น มันเปิดเผยจังหวะภายในและความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ที่สร้างวงดนตรีคลาสสิกในสมองของเรา
Translated by Kelwalin Dhanasarnsombut
Reviewed by Chatthip Chaichakan
ขอบคุณข้อมูลจาก
Pacific Music & Arts School
https://www.pacificmusicschool.com/
แชร์