Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
เรื่องน่ารู้ของ "แมงกะพรุน"
เรื่องน่ารู้ของ “แมงกะพรุน”
รู้หรือไม่ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็น ‘วันแมงกะพรุนโลก’ เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่สัตว์ทะเลที่ใช้ชีวิตบนโลกใบนี้มายาวนานกว่า 500 ล้านปี วันนี้ห้องสมุดฯ บางบอน จึงอยากพาทุกท่านมาทำความรู้จักเกี่ยวกับเกร็ดชีวิตอันน่าอัศจรรย์ของแมงกะพรุนกันค่ะ
1. ชื่อ
Jellyfish แต่ไม่ใช่ ‘fish’
แม้มีคำว่าปลาอยู่ในชื่อภาษาอังกฤษ แต่แมงกะพรุนไม่ได้มีลักษณะใดที่ใกล้เคียงกับปลาเลย โดยปลาจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่แมงกะพรุนเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะลำตัวโปร่งใส นิ่ม ที่สำคัญคือพวกมันไม่มีกระดูก เหงือก สมอง ปอด หัวใจ หรือแม้แต่เลือด ร่างกายแมงกะพรุนประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากถึง 95% ซึ่งด้วยความใสและบางของผิวหนังจึงทำให้แมงกะพรุนสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านเนื้อเยื่อโดยตรง
2. ไดโนเสาร์เรียก ‘ปู่ทวด’
แมงกระพรุนเป็นสัตว์ที่ไม่มีโครงสร้างร่างกายซับซ้อน เพราะเป็นสัตว์กลุ่มแรกๆ ที่ถือกำเนิดบนโลกนี้ เมื่อกว่า 500 ล้านปีที่แล้ว และอยู่มาก่อนที่จะมีไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี โดยในปี พ.ศ. 2560 นักโบราณคดีค้นพบฟอสซิลแมงกะพรุนที่เก่าแก่ที่สุดในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ฟอสซิลแมงกะพรุนที่พบมีลักษณะเป็น Soft Fossil เป็นหนึ่งในกลุ่มฟอสซิลที่พบได้ยาก เกิดขึ้นจากการถูกตะกอนทับถมอย่างรวดเร็ว จนปิดกั้นการย่อยสลายเนื้อเยื่อตามธรรมชาติและทิ้งไว้เพียงร่องรอยประทับไว้ในหิน ทั้งนี้มีการค้นพบฟอสซิลแมงกะพรุนจำนวน 13 ตัวอย่าง จากการตรวจสอบคาดว่ามีอายุประมาณ 540 ล้านปี ซึ่งการค้นพบฟอสซิลแมงกะพรุนถือเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ เนื่องจากแมงกะพรุนมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นวุ้นและน้ำ จึงยากที่จะหลงเหลือเป็นฟอสซิลดังเช่นฟอสซิลสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
3. สวยใส ไม่ไร้ ‘พิษสง’
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตล่องลอยไปตามการพัดพาของกระแสน้ำ ภายนอกจึงอาจดูเปราะบาง ก็ใช่ว่าพวกมันไร้พิษภัย เพราะทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 100 สายพันธุ์ ที่มีพิษเป็นอันตรายต่อมนุษย์ พิษของแมงกะพรุนจะบรรจุอยู่ใน ‘เซลล์เข็มพิษ (nematocyte)’ ซึ่งขดอยู่ในแคปซูลที่กระจายอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหนวดของแมงกะพรุน พิษของแมงกะพรุนเป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน ผื่นบวมแดง รอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนและปริมาณพิษที่ได้รับ ตัวอย่างแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรง เช่น แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส แมงกะพรุนกล่อง ซึ่งพิษสามารถทำลายระบบประสาท ผิวหนัง และทำให้หัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นคือถึงแม้แมงกะพรุนจะตายแล้ว เข็มพิษก็ยังมีประสิทธิภาพทำร้ายคนที่มาสัมผัสได้
4. หลากหลายรูปร่าง ขนาด และสีสัน
แมงกะพรุนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องของรูปร่าง ขนาด และสีสันอย่างมาก แมงกะพรุนที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish) มีความกว้างของลำตัวด้านบนที่มีลักษณะเป็นวงโค้งคล้ายร่มเพียง 25 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนแมงกะพรุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดโลก คือ แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (Lion’s mane jellyfish) มีความยาวของลำตัวจากด้านบนสุดถึงปลายหนวด พบยาวได้มากถึง 37 เมตร เรียกว่าใหญ่พอๆ กับวาฬสีน้ำเงิน แต่หากเป็นในเรื่องของน้ำหนักตัวคงต้องยกให้แมงกะพรุนโนะมุระ (Nomura’s jellyfish) มีน้ำหนักประมาณ 204 กิโลกรัม เทียบเท่ากับน้ำหนักของเปียโนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีแมงกะพรุนที่มีสีสันสวยงาม เช่น แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly) แมงกะพรุนคอสตาริกา (Costa Rican Jellyfish) รวมถึงแมงกะพรุนที่มีรูปร่างน่ารักแปลกประหลาดอย่าง แมงกะพรุนไข่ดาว (Fried Egg jellyfish) ที่สำคัญยังมีแมงกระพรุนบางชนิดที่เรืองแสงได้ด้วย เช่น แมงกะพรุนคริสตัล ที่มียีนผลิตโปรตีนเรืองแสง Green Fluorescent Protein (GFP ) ในร่างกาย
5. ไป ‘อวกาศ’ มาแล้ว
แมงกะพรุน คือหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ส่งไปอวกาศมาแล้ว เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 องค์การนาซาได้ส่งแมงกะพรุนพระจันทร์กว่า 2,500 ตัว ขึ้นไปกับกระสวยอวกาศโคลัมเบียเที่ยว STS-40 เพื่อศึกษาเรื่องระบบประสาท เนื่องจากแมงกะพรุนมีระบบตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงที่ละเอียดสำหรับการรักษาสมดุลการว่ายน้ำในทิศทางต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
สาระวิทย์
https://www.nstda.or.th/sci2pub/jellyfish/
แชร์