Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
ประวัติศาสตร์การล่าแม่มด ณ เมืองซาเลม
ประวัติศาสตร์การล่าแม่มด ณ เมืองซาเลม
การไต่สวนคดีแม่มดที่ซาเลมนั้น เกิดขึ้นระหว่างปี 1692-1693 หรือประมาณ 329 ปีก่อน ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแมสสาชูเซตส์ เมืองซาเลม ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้อพยพชาวพิวริแตนอังกฤษ โดยพวกเขาปกครองตนเองและมีศูนย์กลางของชุมชนอยู่ที่โบสถ์ ทั้งดำเนินชีวิตด้วยความหวาดกลัวต่อสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ ในแผ่นดินใหม่นี้
เหตุการณ์ไต่สวนครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีเด็กสาวในหมู่บ้าน เบตตี แพร์ริส เริ่มมีอาการชัก ส่งเสียงกรีดร้อง โวยวายว่าถูกเข็มแทง และเจ็บตามร่างกาย ตามมาด้วยเด็กสาวอีก 2 คน อาบิเกล วิลเลียมส์ และแอน พัตแนม ทั้งหมดตะโกนคำพูดที่ฟังไม่ได้ศัพท์ออกมา บาทหลวง และหมอใต่างพากันหวาดวิตก และด้วยผู้คนในสมัยนั้นยังมีความรู้ความเข้าใจด้านชีววิทยา การแพทย์ และจิตวิทยาในระดับพื้นฐานเท่านั้น จึงสรุปว่าเด็กทั้ง 3 นั้นโดนคำสาปของ "แม่มด"
ปฏิบัติการล่าแม่มดจึงเริ่มเปิดฉากขึ้น โดยให้เด็กๆ ชี้ตัวผู้ต้องสงสัย บ้างก็ว่าบาทหลวงใช้วิธีบีบบังคับให้กล่าวหาผู้หญิงที่เข้ากับคนสังคมไม่ค่อยได้ เริ่มจาก "ซาราห์ กู้ด" ขอทานหญิงเร่ร่อน "ซาราห์ ออสเบิร์น" หญิงชราที่ป่วยจนไม่สามารถไปโบสถ์ได้ และ "ทิทูบา" ทาสหญิงผิวดำจากบาร์เบโดส ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสอนวิชาแม่มด และใช้มนตร์ดำ
หลังจากนั้น เด็กๆ ก็เริ่มไล่ชื่อหญิงสาวในเมืองมาทีละคน ทีละคน เจ้าหน้าที่สอบสวนก็จะเริ่มไปเยือนบ้านทีละหลัง ทำให้ชาวเมืองล้วนเกิดความหวาดกลัว และระแวงซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างพากันชี้ตัวแม่มดเพื่อให้ตนเองพ้นความผิด จนภายหลังผู้คนก็ใช้การล่าแม่มดเป็นเครื่องมือในการกล่าวหา และกำจัดคนที่แตกต่างจากพวกเขาออกไป รวมถึงคนเร่ร่อน ไปจนถึงคนที่เกลียดกันเอง สรุปทั้งสิ้นมีผู้ถูกจับข้อหาเป็นแม่มดทั้งหมดกว่าร้อยคน มีทั้งผู้หญิง และชายที่พวกเขาคิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก็ไม่ละเว้น
ต่อมามีการตั้งศาลพิเศษขึ้นสำหรับการไต่สวนในครั้งนี้โดยเฉพาะ โดยนำกฎหมายของอังกฤษที่บังคับใช้ในอาณานิคมนิวอิงแลนด์ บัญญัติให้การเป็นแม่มดเป็นความผิดร้ายแรงถึงประหารด้วยการแขวนคอ
การพิจารณาคดีดำเนินไปในลักษณะที่ว่า ใครยอมรับสารภาพ และซัดทอดไปถึงคนอื่นว่าเป็นแม่มด ก็จะได้รับโทษเพียงเล็กน้อย และถูกปล่อยตัวไป ส่วนใครที่ต้องการยืนยันตนว่าบริสุทธิ์ ไม่ซัดทอดคนอื่น แต่ไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ตัวเองได้นั้น
ปลายทางของพวกเธอก็คือวิธีการ "ทรมาน" นั่นเอง
วิธีการทรมานนี้ทำขึ้นเพื่อให้เหยื่อรู้สึกเจ็บปวดจนต้องยอมรับสารภาพนั้น โดยวิธีการมีอยู่หลากหลายสารพัดซึ่งหนึ่งในวิธีที่ผู้พิพากษาคอร์วินชื่นชอบมากที่สุด ก็คือการรัดคอเหยื่อ ไล่จากตามตัวจนถึงข้อเท้าแล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น กระทั่งเหยื่อเริ่มเลือดออกจากจมูกและทนไม่ได้
หรืออีกหนึ่งวิธีทรมานอันน่าสยดสยองก็คือ การจับคนมานอนแล้วค่อยๆ วางก้อนหินทับบนอกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะ “ไจลส์ คอรีย์” เศรษฐีชาวไร่ที่ถูกตัดสินประหารด้วยวิธีนี้ เพราะเขาปฏิเสธที่จะรับสารภาพว่าใช้เวทมนตร์ร่วมกับภรรยา ซึ่งสุดท้ายเขาก็เสียชีวิต ส่วนภรรยาก็ถูกนำตัวมาแขวนคอตายเช่นกัน หลังจากนั้นทรัพย์สินมหาศาลของคอรีย์ก็ถูกยึด และแบ่งส่วนกันในหมู่ลูกขุน และตุลาการของเมือง
รวมแล้วทั้งหมด 19 คนที่ถูกตัดสินว่าเป็นแม่มด และประหารชีวิตโดยนำตัวไปแขวนคอที่เนินเขาแกลโลว์สฮิลล์ ทั้งนี้มีผู้ถูกคุมขัง 5 คน รวมทั้งเด็กทารกหนึ่งคนได้เสียชีวิตลงในคุก และยังไม่รวมผู้ที่ถูกทรมานจนตายอีกหลายชีวิต
กระทั่งเรื่องไปถึงผู้ว่าการรัฐ “วิลเลียม ฟิปส์” เขาจึงได้สั่งระงับศาลพิเศษ และตั้งศาลสูงสุด (Supreme Court of Judicature) แห่งใหม่ขึ้นมาแทน ทั้งยังห้ามไม่ให้นำหลักฐานที่เรียกว่า หลักฐานความฝันและนิมิต (Spectral Evidence) มาใช้ โดยศาลสูงสุดตัดสินลงโทษจำเลยเพียง 3 คน จาก 56 คน ซึ่งฟิปส์ก็อภัยโทษให้ทั้ง 3 คน พร้อมนักโทษอีก 5 คนที่กำลังรอการประหารชีวิต
กระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 1693 ผู้ถูกไต่สวนทุกคนได้รับการตัดสินว่าไม่มีความผิด และถูกปล่อยตัวไป จนสิ้นเดือนมีนาคม ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดก็ไม่มีใครถูกคุมขังแล้ว ทำให้การไต่สวนล่าแม่มดแห่งซาเลมจึงปิดฉากลงในที่สุด
ในเวลาต่อมา ก็ได้มีการรื้อฟื้น และแก้ต่างให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีแม่มดซาเลม จนปี 1706 "แอน พัตแนม" หนึ่งในสามของเด็กหญิงที่กล่าวหาผู้คนมากมายตั้งแต่ต้น ก็ยอมรับสารภาพว่าตนเองโกหก และเป็นพยานเท็จ โดยอ้างว่าทั้งหมดเป็นการล่อลวงจากซาตาน
ปี 1711 รัฐบาลแมสซาชูเส็ตต์ก็ผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม และยกเลิกผลของการดำเนินคดีไต่สวนแม่มดที่เคยเกิดขึ้นในปี 1692 สภานิติบัญญัติจึงผ่านรัฐบัญญัติให้ลบล้างมลทินผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดและได้รับโทษประหาร อีกทั้งจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกหลานของคนเหล่านั้นทั้งหมด
ปัจจุบันนี้ เมืองซาเลมกลับขึ้นมามีชีวิตชีวอีกครั้ง และกลายเป็นแหล่งศูนย์รวมของผู้ที่ชื่นชอบเรื่องไสยศาสตร์ลี้ลับ เวทมนตร์ต่างๆ จนกลับกลายเป็นว่าเมืองที่เคยล่าแม่มดในอดีตนั้นได้เฟื่องฟูกลายเป็นเมืองแม่มดจริงๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะที่สุสานของเมือง ซึ่งมีอนุสรณ์สถานการล่าแม่มดแห่งปี 1692 เป็นลานหญ้าปลูกต้นไม้ 19 ต้น แทนผู้ที่ถูกประหารด้วยการแขวนคออยู่ข้างสุสาน
ชาวเมือง และพ่อค้าแม่ค้าที่นี่ต่างก็สวมชุดแต่งกายย้อนยุคให้เข้ากับบรรยากาศ มีทัวร์เล่าเรื่องผียามค่ำคืนให้ผู้สนใจเดินไปตามสุสาน ลานประหารเก่า และมีงานเทศกาลแม่มดจัดอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงฮาโลวีนอีกด้วย
และในปัจจุบันเคหาสน์แม่มดซาเลม ซึ่งเป็นบ้านของผู้พิพากษาจอมแขวนคอ “โจนาทาน คอร์วิน” ก็ยังเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การล่าแม่มด ในปี 1692 โดยตรง ที่ยังคงหลงเหลืออยู่
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ ทรูไอดี
ลิ้งก์
https://travel.trueid.net/detail/Pp4Gq38vP8r0
แชร์