Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักห้องสมุด
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือมาใหม่
หนังสือแนะนำจากบรรณารักษ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
ข่าวประชาสัมพันธ์/ปฎิทินกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ข่าวสารออนไลน์ผ่านทาง Link
ภาพกิจกรรมประจำสัปดาห์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
8 กันยายน วันการรู้หนังสือสากล
วันการรู้หนังสือสากล
ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก-UNESCO) ได้ประกาศให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันการเรียนรู้หนังสือสากล” โดยวันดังกล่าวจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966)
โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้หนังสือ โดยเฉพาะเด็กที่ตกหล่นอยู่นอกโรงเรียน ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกได้เริ่มเรียกร้องให้ชาวโลกได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อปวงชน โดยวันที่ 8 กันยายน เป็นวันเริ่มต้นของการประชุมที่ World Conference of Ministers of Education on the Eradication of literacy ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
ประเด็นในช่วงทศวรรษที่ยูเนสโกนำเสนอคือ การรู้หนังสือเป็นการให้อิสรภาพแก่ผู้คนทั้งหลาย เป็นอิสรภาพจากความไม่รู้ อิสรภาพจากความยากจน อิสรภาพจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพียงเพราะคนเหล่านั้นมีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้ แสดงให้เห็นว่าเมื่อรู้หนังสือและมีโอกาสนำไปปฏิบัติแล้วก็จะช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างเสรีและมีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้น การรณรงค์ในวันที่ 8 กันยายน จึงเป็นความพยายามที่จะเรียกร้อง ให้รัฐบาลของทุกๆ ประเทศ และทุกๆ คนในสังคมตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องระดมสรรพกำลังแก้ไขปัญหาความไม่รู้หนังสือของประชากรในประเทศ ในวันการรู้หนังสือสากล ยูเนสโกย้ำเตือนประชาคมนานาชาติถึงสถานะการรู้หนังสือและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ทั่วโลก อาทิ ข้อมูลที่ว่า ผู้ใหญ่ราว 776 ล้านคนทั่วโลกขาดทักษะการรู้หนังสือขั้นต่ำ และผู้ใหญ่ 1 ใน 5 ยังอ่านไม่ออกเขียน ไม่ได้ และ 2 ใน 3 ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงและเด็ก 75 ล้านคน ที่ต้องออกจากโรงเรียน และอีกมากกว่านั้นเข้าร่วมการศึกษานอกระบบหรือออกโรงเรียนก่อนวัย
และตามรายงานการเฝ้าดูทั่วโลกว่าด้วยการศึกษาสำหรับทุกคน (2551) เอเชียใต้และเอเชียตะวันตกมีอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ในภูมิภาคต่ำที่สุด (58.6%) ประเทศที่มีอัตราการ รู้หนังสือต่ำที่สุดในโลก คือประเทศบูร์กินาฟาโซ (12.8%) รายงานดังกล่าวแสดงความเชื่อมโยงอันชัดเจนระหว่างอัตราการไม่รู้หนังสือกับประเทศที่ตกอยู่ในภาวะยากจนรุนแรง และระหว่างอัตราการไม่รู้หนังสือกับอคติต่อสตรี
สำหรับไทย กระทรวงศึกษาธิการระบุว่า ตามที่ยูเนสโกได้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นวันระลึกการเรียนรู้หนังสือสากล ตามมติที่ประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากประเทศทั่วโลกว่าด้วยการไม่รู้หนังสือ เมื่อปี 2508 เพื่อระลึกถึงการรู้หนังสือสากล ประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรมตั้งแต่ปีพ.ศ.2510 เป็นต้นมา มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรู้หนังสือและการศึกษาตลอดชีวิต
นอกจากการเรียนรู้หนังสืออันเป็นกุญแจสำคัญที่ไขเข้าสู่สรรพวิทยาการแล้ว การเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนอย่างอื่น และกระบวนการอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่นานัปการนั้น จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้กำหนดเอาวันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นวัน International Literacy Day ตามมติของที่ประชุมของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการจากประเทศทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันที่ระลึกการรู้หนังสือสากลนี้ มาตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา โดยจัดขึ้นที่กองการศึกษาผู้ใหญ่และตามโรงเรียนผู้ใหญ่ทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กองการศึกษาผู้ใหญ่ได้จัดนิทรรศการ "วันการศึกษาผู้ใหญ่แห่งชาติ" ขึ้น ณ หอสมุดแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2521 ได้จัดนิทรรศการ "วันการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกระบบ" ขึ้น ณ บริเวณโรงละครแห่งชาติ โดยมีหน่วยงานจากภายนอกเข้ามาสมทบด้วย
ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการจัดนิทรรศการ "วันการศึกษานอกโรงเรียน" ขึ้น ณ บริเวณคุรุสภา ในปีนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ International Literacy Day จึงได้กลายมาเป็น "วันการศึกษานอกโรงเรียน" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยเหตุที่การศึกษานอกโรงเรียนเป็นการศึกษาตลอดชีวิตและกระบวนการเรียนการสอนไม่จำกัดสถานที่ เวลา อายุ เพศหรืออาชีพของผู้เรียนแต่เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระบบโรงเรียน
ในวันการศึกษานอกโรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการรู้หนังสือและการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งส่วนตนและส่วนรวมให้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ประชาชนได้รับรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการของกรมการศึกษานอกโรงเรียนอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.นครปฐม เขต 2
ลิ้งก์ :
http://chaisri-nites.hi-supervisory5.net/theskal/ru-hnangsux
แชร์