Main Menu
BANGKOK PORTAL

บทความน่ารู้

นักวิทยาศาสตร์พบสารเคมีอันตราย ‘PFAS’ ที่มาจากกระดาษชำระ ในระบบบำบัดน้ำเสีย

 
นักวิทยาศาสตร์พบสารเคมีอันตราย ‘PFAS’ ที่มาจากกระดาษชำระ ในระบบบำบัดน้ำเสีย
พวกเราอาจไม่เคยตระหนักถึงเรื่องนี้ แต่ผลิตภัณฑ์หลายอย่างในชีวิตประจำวันเช่น กาว บรรจุภัณฑ์ อาหาร และเครื่องครัวหลายอย่างนั้น มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า สารเพอร์และโพลีฟลูออโรอัลคิล (Per- and Polyfluoroalkyl Substances) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PFAS ที่มีชื่อภาษาไทยว่า ‘สารเคมีตลอดกาล’
.
สาร PFAS สามารถซึมเข้าไปในดิน อากาศ และน้ำ ไม่เพียงเท่านั้นรายงานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสารเคมีตลอดกาลยังพบได้ในระบบบำบัดน้ำเสียของเมืองจำนวนมาก ซึ่งสร้างคำถามว่าถังน้ำเสียที่บำบัดน้ำจากการ ‘ขับถ่าย’ ของมนุษย์นั้นมีสารเคมีตลอดกาลได้อย่างไร?
.
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พบเป็นสารชื่อว่า disubstituted poly-fluoroalkyl phosphates (diPAPs) เป็นหนึ่งใน PFAS หลักที่พบในไบโอโซลิด (Biosolids; วัสดุอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย) ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงสืบสวนย้อนกลับไปและพบว่าแหล่งที่มาสำคัญของสารดังกล่าวนั้นอยู่ไม่ไกลตัวเรา มันคือ ‘กระดาษาชำระ’ ที่ใช้ในห้องน้ำ
.
พวกเขาได้เก็บตัวอย่าง PFAS จากตะกอนที่ปล่อยโดยโรงงานบำบัดน้ำเสีย 8 แห่งในสหรัฐอเมริกา และจากกระดาษชำระที่จำหน่ายใน 4 ภูมิภาคของโลกได้แก่อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อเมริกากลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันตก และว่าตัวอย่างเหล่านั้นมี diPAPs อยู่จำนวนมาก มันเป็นสารตั้งต้นที่จะกลายเป็นสาร PFAS ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
.
"นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรทิ้งกระดาษชำระชักโครก"
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/environment/76341/pfas-from-toilet-paper/
.
--------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูล/รูปภาพ : National Geographic Thailand
Disclamer :ไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น