Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือน่าอ่าน
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
บทความ
บทความน่ารู้
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
E-books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
ปิดไฟมา 17 ปี ‘Earth Hour’ แล้วไงต่อ? เมื่อไหร่ Event จะเป็น Movement เสียที
ปิดไฟมา 17 ปี ‘Earth Hour’ แล้วไงต่อ? เมื่อไหร่ Event จะเป็น Movement เสียที...
ทุกคืนวันเสาร์ปลายเดือนมีนาคมของทุกปี Gen-S ทั่วโลกต่างรณรงค์ช่วยกันดับไฟ และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อส่งสัญญาณความสำคัญของภาวะโลกเดือด ซึ่งปีนี้ตรงกับคืนของวันที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 2 ทุ่มครึ่ง ถึง 3 ทุ่มครึ่ง การไฟฟ้านครหลวงรายงานว่า การร่วมกันปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมงในพื้นที่ของ กทม. จะลดการใช้ไฟไปได้ 24.65 เมกะวัตต์ ซึ่งเท่ากับลดปริมาณคาร์บอนไปได้ถึง 11 ตัน หรือเท่ากับที่ต้นไม้ 1,100 ต้นดูดซับคาร์บอนได้ภายใน 1 ปี แต่ทั้งนี้ทุกปัญหาในทุกประเทศนั้น ประเทศต่าง ๆ ในโลกได้เจอ ก็แทบไม่ต่างจากประเทศไทย คือมีคนใส่ใจเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อลดภาวะโลกร้อนในจำนวนที่น้อยมาก และยังไม่สามารถสร้างผลกระทบที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ได้เลย อีกทั้งยังมีคนมากกว่าครึ่งโลก ที่ไม่มีAwareness คือ ไม่รู้เรื่อง หรือแค่ได้ยินผ่าน ๆ กับมีคนอีกจำนวนมากบนโลกที่ไม่สนใจเรื่องนี้เลย
ส่วนคำถามที่ว่า แล้วโลกจะต้องพยายามทำอะไร? เพื่อต่อยอด Earth Hour นั้น ก็มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. พยายามทำ Event ให้เป็น Movement
2. พยายามผลักดันให้เรื่องราวที่ผู้คนตัวเล็กตัวน้อยร่วมกันรณรงค์เป็น Agenda ของผู้นำ
3. พยายามขยายการมีส่วนร่วมและผลักดันให้เป็นวาระเร่งด่วนของผู้นำ
แชร์